วันอาทิตย์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2553

สรุปความเข้าใจรายสัปดาห์ที่ 1-6 (ครู)







การสรุปความเข้าใจรายสัปดาห์ของคุณครู เป็นการทบทวนหลังจากการจัดกิจกรรมแต่ละครั้งเพื่อนำไปวางแผนกิจกรรม
ในสัปดาห์ถัดไป

วันพุธที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2553

สัปดาห์ที่ 4 "ภัยธรรมชาติ"





"ภัยธรรมชาติ"
  • ภัยธรรมชาติมีอะไรบ้างและเกิดขึ้นได้อย่างไร?
  • ภัยธรรมชาติส่งผลกระทบต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมอย่างไร?
  • เราจะมีวิธีป้องกันภัยธรรมชาติได้อย่างไร?
กิจกรรม
  • แบ่งกลุ่มศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต ห้องสมุด
  • การทดลองเกี่ยวกับการเกิดภัยธรรมชาติ
  • สรุปความเข้าใจเป็น "นิทาน"
  • นำเสนอ Show and Share
ชิ้นงาน
  • นิทาน
  • การทดลอง
  • สรุปสัปดาห์

สรุปความเข้าใจรายสัปดาห์ที่ 3



ารสรุปความเข้าใจรายสัปดาห์ ทำให้เด็กๆ ได้คิด ไตร่ตรอง ทบทวน ขมวดองค์ความรู้ของตนเองจากการศึกษาค้นคว้า
การนำเสนอ การสนทนาแสดงความคิดเห็นระหว่างเพื่อนๆและคุณครู

วันอังคารที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2553

สัปดาห์ที่ 3 Show and Share






ลังจากเด็กๆแบ่งกลุ่มค้นคว้าเกี่ยวกับชนิด ประเภท ความหมาย ความสำคัญ
การอนุรักษ์ทรัพยากรธธรมชาติ
ได้สรุปความเข้าใจเป็น Mind mapping / Lego นำเสนอคุณครูและเพื่อนๆ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน

สัปดาห์ที่ 3 สรุปความเข้าใจจากการค้นคว้าและนำเสนอ "ทรัพยากร"



หลังจากเด็กๆ ได้แบ่งกลุ่มศึกษาค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับทรัพยากร
  1. น้ำ
  2. หอน แร่
  3. ป่าไม้
  4. พลังงาน
  5. ดิน
เด็กๆ ได้สรุปความเข้าใจของตนเองเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของทรัพยากร

วันพฤหัสบดีที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2553

สัปดาห์ที่ 3 ทรัพยากรมีความสำคัญและสัมพันธ์อย่างไรต่อตัวเรา...และจะมีวิธีการดูแลให้ใช้ได้นานและคุ้มค่าที่สุดได้อย่างไร





หลังจากเด็กๆ ได้วางแผนปฏิทินเสร็จแล้ว ก็เริ่มศึกษาค้นคว้าและทำกิจกรรมตามที่วางแผนไว้

ในสัปดาห์ที่ 3 มีคำถามที่กระตุ้นการคิดเด็กๆ Key Questions?

  • ในโรงเรียนของเรามีทรัพยากรธรรมชาติอะไรบ้าง? และสำคัญต่อนีกเรียนอย่างไร?
  • ทรัพทยากร ดิน น้ำ ป่าไม้ หิน และแร่ธาตุ มีความสัมพันธ์กันอย่างไร?
  • ถ้าไม่มีทรัพยากร ดิน น้ำ ป่าไม้ หิน และแร่ธาตุ จะเป็นอย่างไร?
  • นักเรียนจะมีวิธีการดูแลอนุรักษ์ทรัพยากร ดิน น้ำ ป่าไม้ หิน และแร่ธาตุ อย่างไร?
กิจกรรม
  • ศึกษาสำรวจธรรมชาติในโรงเรียนและสรุปออกมาเป็นภาพวาด
  • แบ่งกลุ่มศึกษาชนิด/ประเภท ของทรัพยากรและนำเสนอ (Mind mapping)
  • แบ่งกลุ่มสรุปการอนุรักษ์และความสัมพันธ์ของทรัพยากรต่อมนุษย์ (ต่อ LEGO)
  • Show and Share
  • สรุปความเข้าใจรายสัปดาห์


ภาระงานของคุณครู "วิเคราะห์ตัวชี้วัดเพื่อเชื่อมโยงกับสาระอื่นๆ "


Mind mapping เนื้อหา (ครู)
เพื่อให้ครูมองเห็นภาพกว้างๆหรือเนื้อหาทั้งหมดของโครงงานที่จะสอน

ปฏิทินการเรียนรู้รายสัปดาห์



การทำปฏิทิทินการเรียนรู้รายสัปดาห์เป็นการวางแผนกิจกรรมและชิ้นงานระยะยาวที่จะเกิดขึ้นใน 10 สัปดาห์ข้างหน้า
ซึ่งเด็กๆ จะนำสิ่งที่อยากเรียนรู้มาลำดับความสำคัญก่อน แล้วช่วยกันระดมสมองทำปฏิทินการเรียนรู้รายสัปดาห์
โดยมีคุณครูคอยแนะนำและเพิ่มเติมกิจกรรม เพื่อไม่ให้หลุดมาตรฐานและตัวชี้วัดตามหลักสูตรแกนกลาง

สรุปความเข้าใจรายสัปดาห์ที่ 2




สรุปความเข้าใจรายสัปดาห์ที่ 2

วันอังคารที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ทำไมต้องทำ Mind mapping ก่อนเรียน????







Mind mapping ก่อนเรียน (นักเรียน)
ป็นอีกชิ้นงานหนึ่งที่เด็กได้ทำหลังจากเลือกหัวข้อและได้โครงงานที่อยากเรียนรู้แล้ว
เด็กๆ จะได้เขียนสรุปสิ่งที่รู้แล้วเป็น Mind mapping ก่อนเรียน ซึ่งจะสามารถเชื่อมโยงสู่การประเมินผล
ให้เห็นความ
แตกต่างของการสรุปองค์ความรู้ก่อนเรียนและหลังเรียนที่ชัดเจนสามารถประเมินผล เห็นความงอกงามของเด็กๆ
จากการเรียนโครงงาน

ทำไมต้องเขียนสิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้????




สิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้
เมื่อได้หัวเรื่อง (Topic) แล้ว ครูจะสำรวจหาสิ่งที่เด็กรู้แล้วและสิ่งที่อยากรู้
  • สิ่งที่รู้แล้ว คือการดึงเอาความรู้เดิมของเด็กออกมา จะทำให้คุณครูได้เห็นว่าอะไรที่เด็กๆ เคยเรียนมาแล้ว และเด็กๆ แต่ละคนมีพื้นฐานความรู้เดิมอย่างไรบ้าง
  • สิ่งที่อยากเรียนรู้ จะฝึกให้เด็กได้คิด เกิดกระบวนการวางแผน ทำให้อยากเรียนในสิ่งที่อยากรู้ เพื่อจะนำไปสู่การวางแผนปฎิทินและกิจกรรม
ตัวอย่างสิ่งที่เด็กๆอยากเรียนรู้
  • ถ้าเปลือกโลกเคลื่อนที่จะเกิดอะไรขึ้น
  • สึนามิเกิดจากอะไร จะเกิดขึ้นอีกหรือไม่และเราจะมีแนวทางแก้ไขอย่างไร
  • ทำไมน้ำในโรงเรียนจึงเค็ม
  • ทำไมปีนี้เราได้ดำนาช้า
  • ทำไมเราต้องได้ซื้อน้ำเปล่าดื่ม
  • ทำไมแต่ละประเทศจึงมีฤดูที่แตกต่างกัน
  • ทำไมอากาศร้อนขึ้น

วันจันทร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ทำไมต้องสรุปความเข้าใจรายสัปดาห์ที่ ????







"สรุปความเข้าใจรายสัปดาห์ที่ 1"
การได้มาซึ่งหัวข้อโครงงาน
ลังจากเด็กๆ ได้เรียนรู้และทำกิจกรรมในแต่ละสัปดาห์ ก็จะสรุปความเข้าใจในกิจกรรมที่ได้ทำในสัปดาห์นั้นเป็นความเข้าใจของตนเองผ่าน ข้อความ รูปภาพ Mind mapping เพื่อเป็นองค์ความรู้ของตนเอง

"แลกเปลี่ยนเพื่อต่อเติม"

นอกจากเด็กจะได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Show and Share) คุณครูก็มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันทุกสัปดาห์เพื่อเติมเต็มกิจกรรมต่างๆ ในมุมมองที่หลากหลายยิ่งขึ้น







" ระหว่างทาง ครูใหญ่และคุณครูช่วยกันแลกเปลี่ยนเพื่อต่อเติมกิจกรรม "
วันพุธที่ 4 สิงหาคม 2553
ห้อง ป. 6 เวลา 16.30 น.

Show and Share เพื่อเลือกหัวข้อโครงงาน

การสร้างโอกาสให้เด็กได้มีเวทีการพูด การนำเสนอ (Show and Share) เพื่อแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันในสิ่งที่คิดทำจะส่งเสริมให้เกิดความเชื่อมโยงความรู้ระหว่างเพื่อนจนกลายเป็นโครงสร้างความรู้ขนาดใหญ่ที่ใช้ประโยชน์ได้




Show and Share เพื่อเลือกหัวข้อโครงงาน

หัวข้อโครงงานที่พี่ป.5 อยากเรียนร่วมกัน
คือ "The Earth and Nature"


วันอาทิตย์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ทำไมเด็กๆ ต้องการเลือกหัวข้อโครงงานที่อยากเรียน?????

การได้เลือกในสิ่งที่สนใจ สิ่งที่อยากเรียน หรือสิ่งที่มีความหมายต่อตนเองจะทำให้ผู้เรียนเกิด "ฉันทะ" ที่จะเรียนรู้เรื่องนั้นอย่างลึกซึ้ง ทั้งสิ่งที่สนใจนั้นผู้เรียนยังสามารถที่จะนำไปใช้ได้จริง และสอดคล้องกับความเป็นจริงของชีวิต ไม่เป็นความรู้ประเภทเหนือจริง






เด็กๆ ได้เลือกหัวข้อโครงงานที่ตนเองอยากเรียนรู้
โดยใช้เครื่องมือคิด Think Pair Share
Think คิดคนเดียว เขียนสิ่งที่ตนเองอยากเรียนรู้อย่างน้อย 10 อย่าง
Pair จับคู่กับเพื่อนเพื่อหาสิ่งที่อยากเรียนรู้ร่วมกันกับเพื่อน ถ้าไม่เหมือนกันคิดใหม่ได้
Share แลกเปลี่ยนในกลุ่มและห้องเรียน