วันจันทร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2554
สัปดาห์ที่ 7 ถ่ายทำแอนิเมชัน
วันพุธที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2554
สัปดาห์ที่ 6 ลงมือทำ
- นักเรียนแต่ละกลุ่มลงมือถ่ายทำแอนิเมชันตามแผนและ Story Board ที่วางไว้
- เมื่อพบปัญหา เช่น ภาพไม่นิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ไม่สมจริง อุปกรณ์ไม่มี แต่ละกลุ่มก็ระดมสมอง
ช่วยกันแก้ปัญหา
วันอังคารที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2554
วันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2554
สัปดาห์ที่ 5 แอนิเมชันมีขั้นตอนการทำอย่างไร?
วันอาทิตย์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
สัปดาห์ที่ 4 ข้อดี ข้อเสีย การเลือกรับสื่อและกฎหมายการละเมิดลิขสิทธิ์มีความสำคัญอย่างไร
มีความสำคัญอย่างไร
- เทคโนโลยีสารสนเทศและแอนิเมชันมีข้อดีและข้อเสียอย่างไร
- กฎหมายการละเมิดลิขสิทธิ์มีความหมายอย่างไรและสำคัญอย่างไร
- เด็กๆ จะมีวิธีการการเลือกรับเลือกบริโภคสื่ออย่างไร จึงจะเหมาะสมกับวัย
หลังจากศึกษาข้อมูลเสร็จแล้ว เด็กๆ ได้นำมาสรุปใส่ชาร์ต และติดผนังห้องให้เพื่อนๆ ได้เดินอ่านแลกเปลี่ยนกัน (Wall Thinking) และจับคู่สรุปความเข้าใจด้วยการแต่งเป็นการ์ตูนช่อง นำเสนอเพื่อนๆ
และ คุณครู
มีเวลาเหลืออีก หนึ่งชั่วโมงคุณครูจึงนำเสนอคลิปแอนิเมชันรูปแบบต่างๆ ให้เด็กๆ ดู เพื่อกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ในการทำ
วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
วันจันทร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
สัปดาห์ที่ 3 แอนิเมชันมีความหมาย ความเป็นมาและมีความสำคัญอย่างไร
วันเสาร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
ภาระงานครู(เพิ่มเติม)
กิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการโดยโครงงาน
หน่วยการเรียน เรื่อง : แอนิเมชั่น (Animation) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
หัวเรื่อง(Topic) : อนิเมชั่น (Animation)
กำหนดความเข้าใจหลัก (Main Idea) : อนิเมชั่นเป็นผลงานสารสนเทศที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อการสื่อสาร ถ่ายทอดเรื่องราวผ่านภาพเคลื่อนไหว สื่ออารมณ์ความรู้สึกที่หลากหลายอย่างสร้างสรรค์ ไร้ขีดจำกัด
คำถามหลัก(Big question) : นักเรียนจะสามารถสร้างผลงานอนิเมชั่นอย่างสร้างสรรค์ได้อย่างไร
เป้าหมายความเข้าใจ(Understanding goal): เข้าใจเป้าหมายและกระบวนการสร้างชิ้นงานอนิเมชั่นรูปแบบต่างๆ และสามารถสร้างชิ้นงานอนิเมชั่นได้อย่างสร้างสรรค ์และเหมาะสมอย่างน้อย 3 ชนิด เช่น รูปภาพ ดินน้ำมัน โลโก้ การวาดเส้น
Understanding Performance
1. Can explain สามารถอธิบายความหมาย ความสำคัญ ประวัติความเป็นมา และขั้นตอนกระบวนการทำแอนิเมชั่น รวมทั้งการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่ศึกษาโดยให้เหตุผลอ้างอิงได้
2. Can interpret เห็นความสำคัญของการสร้างสรรค์งานแอนิเมชั่นและการใช้เทคโนโลยีในโลกปัจจุบันและอนาคตได้
3. Can apply สามารถสร้างชิ้นงานอนิเมชั่นให้ผู้อื่นเข้าใจได้ได้อย่างสร้างสรรค์และเหมาะสมอย่างน้อย 3 ชนิด เช่น รูปภาพ ดินน้ำมัน โลโก้ การวาดเส้น
4. Have perspective สามารถมองเห็นความแตกต่างจากมุมมองที่หลากหลายในการเลือกใช้สื่อเทคโนโลยี เช่น ข้อดีและข้อเสียของสังคมออนไลน์ รวมทั้งการยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นทั้งข้อดีและข้อควรปรับปรุงในการนำเสนองาน
5. Can empathize สามารถสื่อความรู้สึกนึกคิดออกมาเป็นการ์ตูนแอนิเมชั่น เข้าใจบทบาทของตัวละครที่สื่อออกมาได้อย่างลึกซึ้ง มีความละเอียดอ่อนต่อการลงมือประดิษฐ์ชิ้นงาน และรูจักยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่นในการสะท้อนงานเพื่อพัฒนาการทำงานให้ดีขึ้นได้
6. Have self - knowledge รู้จักตนเองตระหนักถึงจุดอ่อน วิธีคิด วิถีปฏิบัติ ค่านิยม เจตคติของตนเอง เช่น การประเมินตนเอง และการสรุปองค์ความรู้ได้
Assessments :1 ตรวจชิ้นงาน 2 การสังเกตและการสัมภาษณ์ 3 การทดสอบ 4 การตั้งโจทย์ให้แก้ปัญหา 5 การปฏิบัติ / การลงมือทำ / การนำเสนอ
ระยะเวลา : 9 สัปดาห์ (10 ชั่วโมง / สัปดาห์)
ครูประจำชั้น : นางศิริมา โพธิจักร์
วันศุกร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
สัปดาห์ที่ 2 เด็กๆ จะวางแผนการเรียนรู้อย่างไร
หลังจากเด็กๆ ได้หัวข้อโครงงานเรียบร้อยแล้วก็จะมาช่วยกันวางแผนกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกันดังนี้
1. เขียนสิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากรู้ เพื่อให้ครูมองเห็นสิ่งที่เด็กรู้แล้ว (สามารถนำมาทบทวนได้)และสิ่งที่เด็กอยากรู้
(ครูสามารถเพิ่มเติมได้เพื่อให้ครอบคลุมหลักสูตรแกนกลาง) และเด็กๆ จะนำสิ่งที่อยากรู้ไปวางแผนทำปฏิทินรายสัปดาห์
2. ทำปฏิทินการเรียนรู้ 9 สัปดาห์
3. Mind mapping ก่อนเรียน ซึ่งเปรียบเสมือน Pre-test เพื่อครูจะได้ตรวจสอบเทียบกับ Mind mapping หลังเรียน
(Post-test)
4.จัดบรรยากาศภายในชั้นเรียนร่วมกัน